การบริการวิชาการ

สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก

        เมื่อวันที่ 4 และ 26 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ครุฑไทย รองคณบดีฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการ U2T ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย ผศ.ดร.นิราภรณ์ ชัยวัง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.ดร.สายบัว เข็มเพ็ชร, อาจารย์ ดร.สุพรรณิการ์ กล่อมจอหอ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ธิดารัตน์ หน่อสุวรรณ อาจารย์ผู้สอนหลักสอนสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เข้าหารือเพื่อรับฟังโจทย์ปัญหาจาก นายสมนึก สระภูมิ กลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายเสกสรร ผาคำ รองนายกเทศมนตรีตำบลขี้เหล็ก และนายตะวัน วิจารณ์เจริญ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ร่วมหารือรับฟังในประเด็นเรื่องสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก
        ทั้งนี้ในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก มีโรงงานขนมจีนเหลืออยู่ประมาณ 13 ราย ซึ่งการทำขนมจีนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในตำบลขี้เหล็กที่ทำกันมาช้านาน อย่างไรก็ตามข้าวที่นำมาทำเป็นแป้งนั้นยังต้องซื้อจากภายนอกเข้ามาใช้ เนื่องจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกในตำบลขี้เหล็กส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์สันป่าตองซึ่งไม่เหมาะที่จะนำมาทำเส้นขนมจีน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันภายในพื้นที่ตำบลขี้เหล็กมีโรงงานทำแป้งสำหรับเส้นขนมจีนแล้ว แต่ยังต้องสั่งข้าวจากทางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางเพื่อนำมาทำเป็นแป้งขนมจีน จึงเกิดแนวคิดใช้ข้าวที่ปลูกภายในพื้นที่ตำบลขี้เหล็กมาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในลักษณะตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชน (BCG) จากพูดคุยในงาน "ของดีตำบลขี้เหล็ก ประจำปี 2567" ที่ผ่านมา
        จึงเป็นโจทย์จากชุมชนที่ทางกลุ่มข้าวแปลงใหญ่ อยากได้สายพันธุ์ข้าวพื้นแข็งที่ไม่ไวแสงมาทดลองปลูกในตำบลขี้เหล็ก เพื่อศึกษาความเหมาะสมที่ให้ผลผลิตสูง, มีปริมาณแป้งอะมายโลสสูงเหมาะแก่นำมาทำเส้นขนมจีน ในการหารือกับผู้ประกอบการผลิตแป้งสำหรับทำขนมจีน ทางผู้ประกอบให้ข้อเสนอแนะว่าหากตำบลขี้เหล็กสามารถปลูกข้าวพื้นแข็งได้ก็ยินดีจะรับซื้อเพราะอยู่ในพื้นทีเดียวกันสามารถลดค่าขนส่งลงและลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ และยังสนับสนุนเศรษฐกิจในชุมชน กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนพันธุ์ข้าวจาก สำนักเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานเกษตรอำเภอแม่ริม โดยทาง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จะสนับสนุนในส่วนวิชาการ และการรวบรวมข้อมูลในแปลงของเกษตรกรและของทางคณะฯ ตลอดแป้งที่เหมาะสมต่อการขนมจีนต่อไป

ภาพ - ข่าว : อ.ดร.ณัฐวุฒิ ครุฑไทย รองคณบดีฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา
20240627092419.jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092419(1).jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092423(2).jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092422(1).jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092423(1).jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092422.jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092423.jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092420.jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092421.jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092421(1).jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web 20240627092422(2).jpg - สายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำเส้นขนมจีนในพื้นที่ตำบลขี้เหล็ก | https://facagri.cmru.ac.th/web